Library Picture

RECORD DETAIL
Back To Previous  

Title การจัดการเรียนการสอน โดยใช้แบบฝึกปฏิบัติท้ายบทเรียน และการมอบหมายงานเดี่ยว ในรายวิชาโปรแกรมประยุกต์ด้านการควบคุมสินค้า ศึกษาเฉพาะนักศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำ
Edition
Call Number
ISBN/ISSN
Author(s) ลักษณสุภา บัวบางพลู - Personal Name
Subject(s) พาณิชยกรรม
คอมพิวเตอรธุรกิจ
Classification กลุ่มสาระการเรียนคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
Series Title
GMD Text
Language Thai
Publisher
Publishing Year 2552
Publishing Place
Collation
Abstract/Notes ในการศึกษาวิจัยเรื่อง “วิธีการฝึกปฏิบัติท้ายบทเรียน และการสร้างชิ้นงานเดี่ยว
ในรายวิชาโปรแกรมประยุกต์ด้านการควบคุมสินค้า กรณีศึกษาเฉพาะนักศึกษาที่มีผลการเรียน
ต่ำ” มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และทัศนคติในการ
จัดการคลังสินค้าด้วยการประยุกต์ใช้สื่อคอมพิวเตอร์ และเชิงพฤติกรรมของนักศึกษาจากการเรียน
การสอนในแบบเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยเปรียบเทียบกับการเรียนการสอนแบบบรรยายใน
ห้องเรียน
กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรการบริหารธุรกิจ
(คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ที่ลงทะเบียนเรียนใน
ภาคการศึกษา 1 ปีการศึกษาที่ 2552 (ชั้นปีที่ 4) ทุกตอนเรียน จำนวนผู้เรียนทั้งหมด 50 คน
เฉพาะนักศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำ โดยนำเนื้อหาในรายวิชาโปรแกรมประยุกต์ด้านการควบคุม
สินค้าจำนวน 4 บทเรียนมาทำการทดลอง เพื่อมุ่งหวังให้นักศึกษาที่ผู้มีผลต่ำเหล่านี้ ได้พัฒนา
ตนเองภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของผู้วิจัย มีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง
การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิต เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน จนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
เนื่องจากผู้วิจัยได้พบปัญหาสำคัญของนักศึกษา ชั้นปีที่ 4 ผู้มีผลการเรียนต่ำหลายประการ เช่น ไม่
สามารถเรียนสำเร็จการศึกษาได้ตามเกณฑ์ และไม่สามารถฝึกงานในสถานประกอบการได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ เป็นต้น
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) เครื่องมือทดลอง ได้แก่
แผนการสอน, กรณีศึกษา, รายงาน, แบบฝึกปฏิบัติท้ายบทเรียน, การสร้างชิ้นงานเดี่ยว, ตัวอย่าง
ชิ้นงาน MS Excel และ MS Access และเว็บไซต์ และ 2) เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่
แบบฝึกปฏิบัติท้ายบทเรียน และการสร้างชิ้นงานเดี่ยว
ผลการวิเคราะห์จากการศึกษางานวิจัยในครั้งนี้ นักศึกษากลุ่มตัวอย่างทั้งหมด
50 คน มีสถานะภาพอยู่ 24 คน และเป็นนักศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีสถานะ พ้นสภาพ ขาดการ
ติดต่อ และยกเลิกรายวิชา (W) จำนวน 26 คน โดยเหตุผลของการยกเลิกรายวิชา (W) เนื่องจาก
เกรดเฉลี่ยสะสมต่ำ จำนวน 11 คน ขาดการติดต่อกับมหาวิทยาลัย จำนวน 7 คน ขาดการติดต่อ
กับอาจารย์ผู้สอน จำนวน 1 คน พ้นสภาพเนื่องจากเกรดเฉลี่ยไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 3 คน
และลงทะเบียนเรียน แต่ไม่เข้าชั้นเรียน จำนวน 4 คน โดยพบว่านักศึกษากลุ่มตัวอย่าง สามารถทำ
คะแนนแบบฝึกปฏิบัติ ตลอดภาคเรียนดีขึ้น เปรียบเทียบตามเกณฑ์คุณภาพ/ความสำเร็จที่กำหนด
เชิง Rubric ค่าคะแนนเป็น 3 ขึ้นไป มีจำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 91.66
และนักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีผลการเรียนในรายวิชาโปรแกรมประยุกต์การจัดการ
คลังสินค้าไม่ต่ำกว่า C มีจำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 37.5
ผลจากการวิจัยในครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำคัญสำหรับอาจารย์ที่สอนวิชาโปรแกรม
ประยุกต์การจัดการคลังสินค้า และผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาการเรียนการสอนเกี่ยวกับการใช้
บทเรียน เพื่อช่วยในการปรับปรุงพัฒนาวิธีการเรียนการสอนรายวิชาทางด้านการบริหารธุรกิจ การ
จัดการการผลิต และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นต้นแบบในการ
พัฒนาบทเรียนในรายวิชาโปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ เพื่อพัฒนานักศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำ ให้มี
พัฒนาการที่ดียิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิผล
ต่อไป ตลอดจนใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนสาขาคอมพิวเตอร์
ธุรกิจ และสาขาอื่น ๆ เพื่อให้การเรียนการสอนได้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเต็มที่
Specific Detail Info
Image
File Attachment
LOADING LIST...
Availability
LOADING LIST...
  Back To Previous