Library Picture

RECORD DETAIL
Back To Previous  

Title ผลการประยุกต์ใช้กิจกรรมตามแนวพหุปัญญาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 1
Edition
Call Number
ISBN/ISSN
Author(s) พรนัชชา ใยแก้ว - Personal Name
Subject(s) เด็กปฐมวัย
อนุบาล
พหุปัญญา
Classification
Series Title
GMD Text
Language Thai
Publisher
Publishing Year 2551
Publishing Place
Collation
Abstract/Notes แนวคิดทฤษฎีพหุปัญญาเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถนำมาพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของ
นักเรียนระดับปฐมวัยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้และมีคุณค่าต่อตนเองและเป็นที่ยอมรับของสังคม ผู้
ศึกษาค้นคว้าจึงสนใจที่จะนำทฤษฎีพหุปัญญามาใช้ในการพัฒนา แก้ไขปัญหาด้านความฉลาดทาง
อารมณ์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยการศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า เพื่อ
ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่1ที่เรียนโดยประยุกต์ใช้กิจกรรมตามแนวพหุ
ปัญญา เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่1 ก่อนและหลังการ
ประยุกต์ใช้กิจกรรมตามแนวพหุปัญญา เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้น
อนุบาลปีที่1ก่อนและหลังการประยุกต์ใช้กิจกรรมตามแนวพหุปัญญา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่
นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนคร
ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 17 คน ซึ่งได้โดยการสุ่มแบบ
กลุ่มโดยใช้หน่วยการสุ่มเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มี 3 ชนิด ได้แก่ แผนการจัด
ประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวพหุปัญญามี 5 แผน 50 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียน จำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.8 ถึง 1.0 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (rcc) ทั้ง
ฉบับ เท่ากับ 0.99 แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์มี 55 ข้อ 4 ตัวเลือก สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การทดลองหาค่าความเที่ยงตรง(Validity) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน โดยใช้สูตรค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC การหาค่าอำนาจจำแนก โดยวิธีของเบรนแนน
(Brennan) การหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้
วิธีของโลเวทท์ (Lovett) สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (Standard deviation) และการตรวจสอบสมมติฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนน
ก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้ Wilcoxon Signed Ranks Test ดำเนินการศึกษาค้นคว้าและเก็บ
รวบรวมข้อมูลโดย กลุ่มทดลองได้รับการเข้าร่วมแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวพหุปัญญา โดยผู้วิจัยทำหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
จำนวน 5 แผน แผนละ 10 ชั่วโมง ใช้เวลา 1 สัปดาห์ / 1 แผน จากการศึกษาพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่1ที่เรียนโดยประยุกต์ใช้กิจกรรม
ตามแนวพหุปัญญาอยู่ในระดับดี
2. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่1หลังการประยุกต์ใช้กิจกรรมตามแนวพหุปัญญามีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนสูงกว่าก่อนได้รับการประยุกต์ใช้กิจกรรมตามแนวพหุปัญญา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ที่เรียนโดยประยุกต์ใช้กิจกรรมตามแนวพหุปัญญามีความ
ฉลาดทางอารมณ์สูงกว่าก่อนได้รับการประยุกต์ใช้กิจกรรมตามแนวพหุปัญญา อย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติ ที่ระดับ .05
โดยสรุป เมื่อนำพหุปัญญามาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
และความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่1สูงขึ้น ครูผู้สอนชั้นอนุบาล สามารถนำไปใช้
ในการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยได้
Specific Detail Info
Image
File Attachment
LOADING LIST...
Availability
LOADING LIST...
  Back To Previous